ประวัติ/ความเป็นมาของโรงเรียน
ประวัติความเป็นมาของโรงเรียนหน้าศูนย์เครื่องมือกลโรงเรียนหน้าศูนย์เครื่องมือกล เป็น 1 ใน 9โรงเรียน ของศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาปากช่อง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 ตั้งอยู่ในท้องที่ หมู่ 11 ตำบลปากช่อง อำเอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ริมทางหลวงสายน้ำดุก-บ้านหวาย โดยอยู่ห่างจากทางหลวงแผ่นดินสายหล่มสัก- ชุมแพ ตรงบริเวณศูนย์สร้างทางหล่มสัก (เดิมชื่อศูนย์เครื่องมือกล) เป็นระยะทางประมาณ 400 เมตร มีประวัติโรงเรียนดังนี้
พ.ศ. 2514 นายใหม่ วงศ์ศรีรักษ์ อดีตนักการภารโรงคนแรก ได้บริจาคที่ดินให้แก่โรงเรียน วัดศรีจันดาธรรม เพื่อใช้เป็นที่ก่อสร้างโรงเรียนวัดศรีจันดาธรรม ( สาขา ) บริเวณหมู่ที่ 11 ตำบลปากช่อง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 30 ไร่ 3 งาน โดยได้รับงบประมาณการก่อสร้างอาคารเรียน แบบกรมสามัญ 015 ราคา 450,000 บาท จำนวน 1 หลัง เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น 12 ห้องเรียน
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งโรงเรียนครั้งแรกเพื่อรองรับชุมชนที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงดังกล่าว ประกอบกับโรงเรียนวัดศรีจันดาธรรม ซึ่งเป็นโรงเรียนแม่มีพื้นที่คับแคบไม่สามารถรองรับปริมาณงานได้อย่างเพียงพอและทั่วถึง
พ.ศ. 2515 วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2515 เปิดทำการสอนครั้งแรก ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 7 โดยเป็นสาขาของโรงเรียนวัดศรีจันดาธรรม ที่ตั้งอยู่ หมู่ 12 ตำบลปากช่อง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ มี นายสมัคร มงคลวัจน์ เป็นครูใหญ่คนแรก
พ.ศ. 2519 ย้ายไปเป็นผู้บริหารโรงเรียนบ้านหนองไขว่ นายสมบูรณ์ กันหา เดินทางมารับตำแหน่งแทนพ.ศ. 2520 ทางราชการได้มีคำสั่งให้แยกเป็นโรงเรียนเอกเทศ โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนหน้าศูนย์เครื่องมือกล
พ.ศ. 2521 ทางราชการมีคำสั่งให้ยุบชั้นเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 ทั่วประเทศ และให้เปิดทำการสอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 6
พ.ศ. 2525 ได้รับอนุมัติจากทางราชการในการปรับปรุงกำหนดตำแหน่งครูใหญ่ เป็น อาจารย์ใหญ่
พ.ศ. 2534 ได้รับเลือกให้เข้าโครงการ โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยเปิดทำการสอนถึงมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นปีแรก พร้อมกับได้รับงบประมาณค่าก่อสร้าง อาคารเอนกประสงค์ งบประมาณ 970.000 บาท แบบ สปช. 105/29 จำนวน 1 หลังขนาด 4 ห้องเรียน ซึ่งต่อมา ปี พ.ศ. 2538 ได้รับงบประมาณ 280,000 บาท ก่อสร้างเพิ่มเติมชั้นล่างอีก 4 ห้องเรียน
พ.ศ. 2540 ได้รับการอนุมัติจากทางราชการให้ปรับปรุงตำแหน่งผู้บริหารจากตำแหน่ง อาจารย์ใหญ่ เป็น ผู้อำนวยการโรงเรียน ระดับ 8
พ.ศ. 2541 ทางราชการได้โอนโรงเรียนบ้านปากช่อง ให้มาเป็น โรงเรียนสาขา ของโรงเรียนหน้าศูนย์เครื่องมือกล โดนใช้ชื่อว่า โรงเรียนหน้าศูนย์เครื่องมือกล สาขาปากช่อง
พ.ศ. 2545 นายสมบูรณ์ กันหา ผู้อำนวยการโรงเรียน เกษียณอายุทางราชการ จึงได้มอบหมายให้ นางทิพวรรณ มังคลาภรณ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการรักษาการในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา จนกว่าจะมีคำสั่งแต่งตั้งผู้บริหารสถานศึกษาคนใหม่มาปฏิบัติหน้าที่แทนตำแหน่งที่ว่างลง
พ.ศ. 2546 นายสมเดช วงศ์อ่อนตา ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2546 วันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2557 นายสมเดช วงศ์อ่อนตา ผู้อำนวยการโรงเรียนเกษียณอายุราชการ
6 ตุลาคม พ.ศ.2557 นายชาญชัย จันทรวิวัฒน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านร่องกระถิน ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนหน้าศูนย์เครื่องมือกล
19 มิถุนายน พ.ศ.2558 นายชาญชัย จันทรวิวัฒน์ ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยสวิง เป็นการชั่วคราว ตามคำสั่งของ สพป.พช.2 ที่ 333/2558 สั่ง ณ วันที่ 16 มิถุนายน 2558
9 พฤศจิกายน พ.ศ.2558 นายสรศักดิ์ ผิวสานต์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยสวิง ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนหน้าศูนย์เครื่องมือกล
2 ธันวาคม พ.ศ.2562 นายจรูญ อริยะดิบ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดศรีจันดาธรรม ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนหน้าศูนย์เครื่องมือกล จนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบัน ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนหน้าศูนย์เครื่องมือกล มีเนื้อที่ทั้งหมด 30 ไร่ 3 งาน อาคารเรียนจำนวน 4 หลัง 20 ห้องเรียน ห้องน้ำห้องส้วม 5หลัง 17 ที่นั่ง อาคารโรงอาหาร (งบประมาณจัดหาเอง สร้าง พ.ศ. 2538 ) จำนวน 1 หลัง อาคารหอสมุดโรงเรียน ซึ่งได้รับเงินช่วยเหลือจาก คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน ประชาชนที่มีจิตศรัทธาและให้การสนับสนุนกิจการของโรงเรียน ในรูปแบบของการจัดงานการกุศลรูปแบบต่าง ๆ
สิงหาคม พ.ศ.2558 ได้รับแต่งตั้งเป็นโรงเรียนแกนนำทางการแนะแนว ( ศูนย์แนะแนวประจำสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 ในปีการศึกษา 2562 มีนักเรียนทั้งหมด 285คน
( ข้อมูล 10 มิถุนายน 2562 )แบ่งเป็นระดับก่อนประถมศึกษาจำนวน 27 คนระดับประถมศึกษา จำนวน 66 คน ระดับมัธยมศึกษา จำนวน 192 คน ครูและผู้บริหารทั้งหมด 22 คน เป็นชาย 4 คน หญิง 18 คน อัตราจ้าง จำนวน 3 คน นักการภารโรง 1 คน สภาพปัจจุบันและปัญหาของโรงเรียน ด้านการดำเนินการจัดการศึกษาของโรงเรียนหน้าศูนย์เครื่องมือกล นอกจากงบประมาณที่ทางราชการจัดให้แล้ว ยังได้รับความร่วมมือและช่วยเหลือจาก คณะกรรมการศึกษาสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน ประชาชนที่มีจิตศรัทธาและให้การสนับสนุนกิจการของโรงเรียน เช่น ทุนการศึกษา อาหารกลางวัน วิทยากรท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น และทรัพยากรที่มีความจำเป็นในการบริหารจัดการศึกษา ส่วนปัญหาภายในองค์กรคือ การขาดแคลนอาคารเรียน และวัสดุอุปกรณ์ประกอบการเรียน เช่น คอมพิวเตอร์ ตลอดทั้งบุคลากรที่ทำการสอนส่วนใหญ่ มีอายุเฉลี่ย เกิน 49 ปี สอนไม่ตรงวุฒิ วิชาเอก โท การปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่และงานจึงค่อนข้างจะล่าช้า